วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การฟื้นฟูในพื้นที่ในชายแดนใต้

นสพ.Utusan Malaysia ฉบับ 1 พ.ย.54
เขียนโดย YULPISMAN ASLI
เหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในไทยขณะนี้ กลายเป็นที่สนใจของสังคมนานาชาติ หลายฝ่ายส่งความช่วยเหลือ อย่างน้อยๆ ภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ลืมเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จชต.ของไทยชั่วคราว
          เหตุการณ์ความไม่สงบที่ยืดเยื้อตั้งแต่มาหลายปี ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายพันคน เปรียบเสมือน “หนามในเนื้อ” ของผู้บริหารไทยเพื่อนำความเจริญไปสู่พื้นที่ดังกล่าว
          สถานการณ์ไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว โดยเฉพาะ จ.นราธิวาส ปัตตานี และ ยะลา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนับถือศาสนาอิสลาม ส่งผลให้รัฐบาลไทยพยายามจะนำการพัฒนาเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าวจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของสังคมในพื้นที่ดังกล่าว
          ทั้งนี้ ชัดเจนว่า ความขัดแย้งระหว่างศาสนาที่ยืดเยื้อมานาน บ่งชี้ว่า พื้นที่ดังกล่าวล้าหลังในด้านการพัฒนาและการเจริญเติบโต รวมทั้งในด้านการท่องเที่ยวที่ถูกอ้างว่า เป็นชีพจรของเศรษฐกิจไทย เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าวส่งผลให้นักท่องเที่ยวไม่กล้าไปท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าว
ในระดับนานาชาติ เหตุการณ์ความไม่สงบดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย โดยเฉพาะในบรรดาประเทศมุสลิม และไม่น้อยที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการเอนเอียงของสื่อต่างชาติและท้องถิ่น ที่เสนอข่าวสารเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าว แม้จะเกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทห่างไกล
          ด้วยการตระหนักเรื่องดังกล่าว ดังนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ กงสุลไทย ณ เมือง Kota Bharu/รัฐกลันตัน ได้จัดโรงการเยือนพื้นที่ดังกล่าว ด้วยการเชิญตัวแทนองค์กรและ สนง.ศาสนา สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชนจากรัฐกลันตัน ไปชื่นชมการใช้ชีวิตของชาวมุสลิมในพื้นที่ดังกล่าวด้วยตัวเอง
โดยทั่วไปเป็นที่ทราบกันว่า รัฐกลันตัน เป็นรัฐหนึ่งใน มซ. ที่มีชายแดนติดกับไทย แม้ตามประวัติศาสตร์ สังคมทั้ง 2 พื้นที่ดังกล่าวมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดซึ่งกันและกัน นั่นคือ ความสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องในทางอ้อม 
สำหรับผู้เขียน โอกาสที่ได้ไปเยี่ยมพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่คาดการณ์ไว้มาก ทั้งที่มีหลายเรื่องไม่ดีที่ได้รับทราบก่อนหน้านี้ และการเยี่ยมดังกล่าว ถูกคาดหวังว่า จะสามารถสร้างความกระจ่างเกี่ยวกับความขัดแย้งทั้งหมดที่ได้รับทราบ
          การเดินทางดังกล่าวด้วยรถบัส 2 ชั้น พื้นที่แรกที่ไปเยี่ยม คือ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ซึ่งก่อนหน้านี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน รวมทั้งชาว มซ. 1 คน จากเหตุลอบวางระเบิดที่ถูกเกี่ยวโยงกับกลุ่มก่อความไม่สงบ
เมื่อคณะเดินทางถึง จ.ปัตตานี ได้รับการต้อนรับจาก นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ผวจ.ปัตตานี และได้ให้โอวาทว่า สถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าวเริ่มดีขึ้นจากเหตุลอบวางระเบิด และว่า หลังจากพบปะกับผู้นำศาสนา และประชาชน นายนิพนธ์ ได้อธิบายเกี่ยวกับการสร้างความสงบในพื้นที่ ว่า ขณะนี้ในแต่ละพื้นที่จะมอบหมายให้ผู้นำร่วมกับประชาชนเพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเจริญขึ้น
ก่อนหน้านี้ ประชาชนดำเนินชีวิตอย่างลำบาก มีสามีก็จำเป็นต้องเดินทางไปทำงานใน มซ. นักลงทุนก็ไม่มาลงทุน ด้านการศึกษาล้าหลัง เพราะไม่มีครูที่มีคุณภาพและนักเรียนก็ด้อยคุณภาพ รัฐบาลปัจจุบันพยายามนำการพัฒนา รวมทั้งให้โอกาสการทำงานกว้างขึ้นให้กับบุตรหลานในพื้นที่ ซึ่งรวมทั้งการให้เงินช่วยเหลือ ประมาณ 20,000 ริงกิต แก่ครอบครัวเกษตรกรที่ฐานะยากจน
นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลไทยตั้งใจจะพัฒนาศูนย์อาหารฮาลาลในพื้นที่ จ.ปัตตานี ซึ่งแน่นอนว่าจะนำผลประโยชน์ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและพื้นที่โดยรอบ และว่า โครงการดังกล่าวได้รับผลกระทบเล็กน้อย เนื่องจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคการพัฒนาในพื้นที่ จชต.ของไทย
          ทั้งนี้ ตั้งแต่ 4 ม.ค.47-31 ส.ค.54 ความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน จ.ปัตตานี ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 4,553 คน นั่นคือ เป็นพลเรือนถึง 2,366 คน และที่เหลือเป็น จนท.รัฐ และในระยะเวลาดังกล่าว รัฐบาลได้ให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบแล้ว กว่า 56 ล้านริงกิต ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่เพียงจะเกี่ยวข้องกับพลเรือน แต่กลุ่มทหารก็บ่อยครั้งตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อความไม่สงบ
          ด้วยเหตุดังกล่าว รัฐบาลไทยจึงเปิดกว้างให้กับกองทัพในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งไม่เพียงทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพื่อให้เกิดความสงบในพื้นที่ดังกล่าว แต่ต้องทำงานด้านวิจัยในด้านไบโอดีเซลเพื่อช่วยยกระดับเศรษฐกิจสังคมของประชาชนด้วย
ผลการดำเนินงานภายใต้การนำของ พล.ท.พิเชษฐ์ วิสัยจร อดีตแม่ทัพภาค 4 ในการตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เมื่อ 7 ต.ค.50 เพื่อศึกษา เป็นแนวทาง และฝึกอบรมประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นักเรียนในท้องถิ่นในด้านการเกษตรและปศุสัตว์  โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจสังคมประชาชน ในขณะเดียวกัน เพื่อป้องกันประชาชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับความรุนแรง รวมทั้งยาเสพติด ที่สั่นคลองเสถียรภาพ รวมทั้งการพัฒนาในพื้นที่ดังกล่าว
สิ่งที่น่าสนใจ ศูนย์ดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ จนถึงขณะนี้ มีบุคคลเข้าไปเยี่ยมศูนย์ดังกล่าวแล้ว กว่า 85,000 คน รวมทั้งผู้นำจากต่างประเทศ เพื่อศึกษาอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับศูนย์ดังกล่าว
          นอกจากศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รัฐบาลไทยยังตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อนำความสงบและสันติสู่พื้นที่ที่มีประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
          นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ศอ.บต. ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ธ.ค.2553 เพื่อบริหารจังหวัดต่างๆ ที่มีชายแดนกับ มซ. ในการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน ซึ่งตั้งเป้าหมายจะให้ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยจนถึง 120,000 บาท/ปี (12,000 ริงกิต/ปี) และว่า แนวทางที่ดำเนินการในขณะนี้ คือนโยบายการเมืองนำการทหาร เนื่องจากความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จชต.ของไทย แท้จริงแล้วเกิดจากกลุ่มก่อการร้ายเล็กๆ ที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับหลักคำสอนศาสนา ดังนั้น ศอ.บต. จึงตั้งสภาที่ปรึกษาเพื่อชี้แจงเรื่องศาสนาที่ถูกต้องให้กับสังคมรับทราบ
ความเข้าใจผิดหรือขัดแย้งเรื่องศาสนาดังกล่าวได้รับการยอมรับจาก นายอับดุลอาซิส อับดุลวาฮับ ปธ.ชมรม ร.ร.ปอเนาะในพื้นที่ จชต.ของไทย ว่า บ่อยครั้งชาวมุสลิมได้รับทราบเกี่ยวกับคำว่า ญีฮัด แต่ไม่ได้รับการอธิบายที่ชัดเจน ด้วยเหตุดังกล่าว เพื่ออธิบายสิ่งที่เข้าใจผิด ดังนั้นชมรมฯ ด้วยความร่วมมือจากโต๊ะครูจาก ร.ร.ปอเนาะในพื้นที่ 5 จชต.ของไทย จึงเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเพื่อชี้แจงให้กับสังคมเกี่ยวกับความหมายการต่อสู้หรือญีฮัดในศาสนาอิสลาม
          นายภาณุ กล่าวต่อว่า นโยบายรัฐบาลไทยเพื่อให้การศึกษาแก่เยาวชนมุสลิมในพื้นที่ จชต.ของไทย เพื่อเยาวชนดังกล่าวสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของครอบครัว รวมทั้งเพื่อภัยยาเสพติดที่แพร่หลายมากขึ้นหมดไป และว่า ปัจจุบัน จนท.รัฐ ในพื้นที่ จชต.ของไทยขณะนี้ ประมาณ ร้อยละ 75 เป็นบุตรหลานในพื้นที่ดังกล่าว รัฐบาลยังให้การสนับสนุนทั้งในด้านวัฒนธรรม ภาษามลายู และทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมลายู แท้จริงไทยโชคดี เพราะมีพระมหากษัตริย์และราชินีมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ จชต.ของไทย
          ทั้งนี้ ไม่ว่านโยบายใดของรัฐบาลไทย พยายามจะนำความสงบสุขอย่างถาวรและความเจริญสู่พื้นที่ จชต.ของไทย จะต้องดำเนินอย่างจริงจังและซื่อสัตย์กับทุกฝ่าย รวมทั้งรัฐบาลและสังคมในพื้นที่ เพื่อนำผลประโยชน์ที่ดีสู่ประเทศต่างๆ ในกลุ่มสมาชิกอาเซียนโดยเฉพาะ มซ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น