วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สารัตถะแห่งนิยาม "เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา"


          เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เป็นสามคำที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมอบให้กับเจ้าหน้าที่รัฐของไทย ในการนำไปใช้แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนต่างๆ รวมทั้งปัญหาใน 3 จชต. ก็มีความพยายามนำพระราชดำรัสนี้ไปใช้เช่นกัน
          รัฐบาลไทยนับตั้งแต่สมัยของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นต้นมา ได้ร่างยุทธศาสตร์การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เพื่อใช้แก้ไขปัญหาภาคใต้ ออกมาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐรวมทั้งประชาชนทั่วไป นำไปปรับใช้กับท้องถิ่นของตน เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน แต่การแก้ปัญหาที่สะสมมาอย่างยาวนานอย่างปัญหา 3 จชต. ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องใช้เวลาในการปรับ และค่อยๆ แก้ไขปัญหาไป ไม่มีทางเลยที่นโยบายใด เมื่อทำลงไปแล้วจะได้ผลทันที ล้วนต้องใช้เวลาทั้งสิ้น
          ขณะที่คนไทยทั้งประเทศพยายามปรับตัว แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นกับ 3 จชต. และพยายามเข้าถึงด้วยการร่วมทำกิจกรรม การเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมและประชาชนของภาคใต้อยู่นั้น กลุ่มคนที่อ้างตัวว่าเป็นนักสู้เพื่อปลดปล่อยดินแดนปาตานีกลับคอยก่อกวน คอยโจมตีว่านโยบายเหล่านี้เป็นเพียงนิยาม ผิวเผิน ทั้งที่จริงแล้ว มันถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีต่างหาก ถ้าอยากเห็นความไม่สงบยุติลง ทุกฝ่ายต้องให้เวลากับการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และร่วมมือกันไม่ใช่หรือ แล้วทำไมพวกคนเหล่านี้ถึงต้องรีบร้อนด่วนสรุปว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ผิวเผินด้วยเล่า
          คนเหล่านี้พยายามโจมตีทหาร ตำรวจโดย ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งคนที่ยอมเสียสละชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ อย่าง จ่าเพียร พ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว สมควรได้รับการยกย่อง แต่ไม่วายถูกผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติกล่าวหาว่าเป็นผู้หากินบนเลือดเนื้อ และชีวิตของชาวมลายู เป็นคำกล่าวอ้างที่ค่อนข้างจะเห็นแก่ตัวเกินไป จ่าเพียร ต้องทำหน้าที่ในบทบาทผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ แล้วการที่จ่าเพียรคอยต่อสู้กับผู้ไม่หวังดีต่อประชาชนจนสังหารกลุ่มคนเหล่านั้นไปหลายต่อหลายคน เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องกระนั้นหรือ เป็นการตีความเข้าข้างตัวเองอย่างเห็นแก่ตัวเพื่อหวังผลทางด้านการจูงใจมวลชนเพียงเท่านั้น หาคุณค่าอะไรไม่ได้เลยในคำพูดที่ไปกล่าวโทษบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วแบบนี้
          คำกล่าวที่ว่า “ชาวมลายูนั้นสามารถพูดได้ถึง 4 ภาษา จึงเป็นผู้ที่สมควรได้รับการพัฒนาก่อน” เป็นตรรกะที่แปลกมาก การที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือชุมชนใดชุมชนหนึ่งจะได้รับการพัฒนาก่อนหรือหลังนั้น เขาวัดกันจากทักษะ การใช้ภาษา อย่างนั้นหรือ จริงอยู่ว่าชาวมลายูสามารถพูดได้หลายภาษา แต่ไม่ใช่เหตุผลที่ควรจะยกมาอ้างเลยว่าควรได้รับการพัฒนาก่อนหรือหลังได้ แม้จะได้รับการพัฒนาที่ช้าไปบ้าง แต่ก็ไม่เคยมีรัฐบาลใดไม่เหลียวแลเลย ทุกรัฐบาลต่างบรรจุนโยบายภาคใต้เข้าไปในนโยบายการบริหารประเทศทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องใช้เวลาหน่อย ต้องอดทนกันหน่อย
          ลองย้อนกลับไปคิดให้ดีๆ เถอะ ว่าที่ภาคใต้พัฒนาได้ช้านั้น เป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลไทย หรือเป็นเพราะพวกคนหัวรุนแรงที่คอยก่อกวนไม่หยุดหย่อนเหล่านี้กันแน่ บางทีเมื่อได้รับคำตอบแล้ว อาจจะทำให้คนที่กำลังหลงผิดได้เข้าใจอะไรมากขึ้น และหันกลับมาช่วยกันพัฒนา 3 จชต. ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ประชาคมอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งเมื่อเวลานั้นมาถึง ดินแดนระหว่างประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะไม่มีเขตแดนระหว่างกันอีกต่อไป แรงงานแต่ละประเทศสามารถโยกย้ายได้อย่างอิสระเสรี แล้วจะมาต่อสู้เพื่อแย่งดินแดนในประวัติศาสตร์กันอีกทำไมเล่า พวกท่านทั้งหลายเอ๋ย.
         

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Mereka yang ketinggalan zaman di Selatan Thai.

          Pilihan raya umum Negara Thai pada 3 Julai 2554 yang lalu, selain menjadi satu kejayaan bagi sistem demokrasi di Negara Thai kerana ia berjaya mendapat kerajaan baru daripada suara terbanyak untuk mentadbir hal ehwal Negara, ia juga menjadi satu persoalan besar kepada sesetengah kumpulan yang berusaha untuk membuat kekacauan kepada Negara dan rakyat jelata di kawasan tiga wilayah sempadan.

          Sebelum pilihan raya, kumpulan-kumpulan tersebut telah berusaha keras menjalankan dakyah mereka supaya penduduk Melayu di wilayah-wilayah itu memboikot pilihan raya umum sebagai tanda menolak pemerintahan kerajaan Thai. Surat layang - yang memuatkan beberapa fakta sejarah bahawa orang Melayu ialah tuan tanah, bangsa Melayu pernah gilang gemilang sebelum dijajah oleh Siam dengan disokong oleh pendapat para ilmuan Arab bagi membina keyakinan orang ramai terhadap kumpulan mereka-  telah ditaburkan di merata tempat. Walaubagaimanapun, ternyata daripada keputusan pilihan raya itu bahawa rakyat jelata, yang merupakan empunya hak yang sebenarnya, iaitu orang Melayu di tiga wilayah selatan, masing-masing keluar mengundi secara beramai-ramai. Ini menunjukkan kesediaan dan kerelaan mereka untuk terus berada di bawah naungan sistem pemerintahan Negara Thai yang memberi kebebasan hidup dan hak untuk mengamalkan ajaran agama masing-masing, selagi mana ia tidak menyentuh hak dan kebebasan orang lain.

          Salah satu asas sistem demokrasi yang diakui oleh semua Negara dalam dunia ini ialah menerima pandangan suara terbanyak. Kalau dilihat secara kasar, penduduk Thai Muslim yang merupakan satu juzuk daripada masyarakat Thai telah keluar mengundi. Ini boleh difahami bahawa mereka tidak mahu berpisah daripada Thailand. Pada masa yang sama , jika dilihat dari ruang lingkup yang lebih kecil khususnya di kawasan yang kononnya didakwa sebagai kawasan kerajaan Patani Purba (iaitu di wilayah Narathiwat, Pattani, Yala dan empat daerah di wilayah Senggora) didapati bahawa lebih daripada separuh daripada penduduk di situ telah keluar mengundi. Ini bermakna bahawa penduduk Thai Muslim tidak mengiktiraf kuasa yang ada pada kumpulan pengganas baik PULO atau BRN dalam semua peringkat sama ada peringkat akar umbi atau peringkat tinggi. Penduduk Thai Muslim telah mengisytiharkan dengan jelas bahawa diri mereka berdiri di sebelah yang bertentangan dengan puak pengacau.

          Masyarakat sejagat pada zaman moden, pada zaman di mana semua Negara perlu mempelajari untuk hidup bersama dalam dunia yang tidak bersempadan ini. Isu perkauman bukan lagi menjadi sekatan kepada pembangunan. Di tengah-tengah sistem komunikasi yang begitu canggih, penduduk Thai Muslim telah memberi jawapan mereka bahawa mereka mahu menyelesaikan masalah mereka di bawah sistem demokrasi yang berpegang kepada prinsip berpegang kepada suara terbanyak dan bukannya keganasan.

          Ia merupakan jawapan dan sekali gus persoalan yang terpantul balik kepada mereka yang  berusaha untuk memisahkan kerajaan Patani dari Thailand. Mereka yang hanya terlekat pada kemakmuran pada zaman dulu yang diceritakan dari mulut ke mulut. Mereka yang tingkah laku  mereka hanya merupakan tingkah laku orang yang ketinggalan zaman.

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คนหลงยุคที่ชายแดนใต้

การเลือกตั้งทั่วไปของประเทศไทยเมื่อ 3 ก.ค.54 ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นความสำเร็จของระบอบประชาธิปไตยของไทยที่จะได้รัฐบาลจากเสียงส่วนใหญ่ของประเทศเข้ามาบริหารงานบ้านงานเมืองแล้ว ยังถือว่าเป็นคำถามโจทย์ใหญ่ส่งไปถึงกลุ่มคนบางกลุ่มที่สร้างความปั่นป่วนให้กับประเทศชาติและประชาชนผู้บริสุทธิ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย
          ก่อนหน้าการเลือกตั้ง กลุ่มคนดังกล่าวพยายามปลุกระดมให้ชาวมลายูในพื้นที่ต่อต้านการเลือกตั้ง ต่อต้านการปกครองภายใต้รัฐบาลไทย มีการแจกใบปลิวโจมตี มีการอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ นานา ว่าชาวมลายูเป็นเจ้าของดินแดนบ้าง เชื้อชาติมลายูยิ่งใหญ่มาก่อนถูกสยามเข้ายึดครองบ้าง มีการอ้างถึงนักวิชาการชาวอาหรับหลากหลายท่านเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือกับกลุ่มของพวกตน แต่จากผลการเลือกตั้งปรากฏออกมาอย่างชัดเจน ประชาชนที่มีสิทธิมีเสียงตัวจริงของพื้นที่ คือชาวมลายูใน 3 จังหวัดต่างออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งกันอย่างมโหฬาร นั่นแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและยินดีที่จะอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งให้สิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตและประกอบกิจกรรมทางศาสนาอย่างเต็มที่ ตราบใดที่ไม่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
            พื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างยอมรับ คือการรับฟังเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ หากมองในภาพใหญ่ ชาวไทยมุสลิมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย การออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป สรุปได้ว่า พวกเขาไม่ได้อยากจะแบ่งแยกดินแดนเป็นอิสระ ขณะเดียวกัน หากมองในระดับย่อยลงมาเฉพาะดินแดนที่ถูกอ้างว่าเป็น อาณาจักรปาตานีโบราณ (พื้นที่ จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา) ยังปรากฏว่าประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเกินครึ่ง นั่นก็หมายถึง ชาวไทยมุสลิมไม่ยอมรับอำนาจที่มีอยู่ของกลุ่มก๊วนผู้ก่อความไม่สงบทั้งพูโล และ บีอาร์เอ็น ไม่ว่าจะมองในมุมใด ในระดับย่อย หรือ ระดับใหญ่ ประชาชนชาวไทยมุสลิมได้ประกาศตัวเองว่ายืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพวกป่วนบ้านป่วนเมืองอย่างชัดเจน
            ประชากรโลกยุคใหม่ในยุคที่ประเทศต่างๆ ต้องรู้จักเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน บนโลกที่ไม่มีพรมแดน ไม่มีเรื่องชาติพันธุ์เป็นการปิดกั้นการพัฒนา ท่ามกลางระบบการติดต่อสื่อสารที่ฉับไวรวดเร็ว พวกเขาได้ให้คำตอบแล้ว ว่าต้องการการแก้ปัญหาในระบอบประชาธิปไตยที่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ ไม่ใช่ความรุนแรง
            เป็นคำตอบที่ย้อนเป็นคำถามกลับไปยังผู้ที่คิดแบ่งแยกอาณาจักรปาตานีออกจากผืนแผ่นดินประเทศไทย หรือคนกลุ่มนี้เป็นเพียงแค่คนที่ยึดติดอยู่กับความเจริญรุ่งเรืองในอดีตที่ถูกเล่าขานกันปากต่อปาก หรือการกระทำของกลุ่มคนเหล่านี้มีค่าแค่เพียงพฤติกรรมของคนหลงยุคเท่านั้น




วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เหตุจลาจลในเรือนจำนราธิวาส

เหตุการณ์การจลาจลในเรือนจำ จ.นราธิวาส ถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ว่าเป็นการก่อจลาจลของนักโทษชาวมลายูหลายร้อยคน เนื่องจากไม่พอใจที่เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นชุดตรวจค้นยาเสพติดบุกค้นเรือนนอนของนักโทษเหล่านั้น ขณะที่สื่อมวลชนกระแสหลักต่างรายงานข่าวไปในแนวทางเดียวกันเรื่องความไม่พอใจการตรวจค้นยาเสพติด ถึงกระนั้นยังมีบางสื่อที่นำเสนอข่าวที่แตกต่างออกไป…

สื่อมวลชนภาคภาษาอังกฤษของประเทศไทยแห่งหนึ่งได้เสนอข่าวการก่อจลาจลของ นักโทษโดยอ้างแหล่งข่าวที่เป็นนักเคลื่อนไหวชาวมุสลิมรายหนึ่งซึ่งให้ข้อมูล ที่ยังไม่มีการพิสูจน์แต่อย่างใดว่า สาเหตุของการก่อจลาจลเริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่ของไทยดูหมิ่นศาสนาอิสลามด้วยการเหยียบย่ำคัมภีร์อัลกุรอานที่ตกอยู่บนพื้น ซึ่งการเสนอข่าวเช่นนี้อาจสร้างความเข้าใจผิดต่อเจ้าหน้าที่ได้ การนำเสนอข่าวสารที่ยังไม่ได้รับการกลั่นกรองหรือตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วน ข้อมูลที่นำมาเสนอไม่มีแม้กระทั่ง ภาพถ่าย
คลิปวิดีโอ หรือเอกสารยืนยันใดๆ แต่เป็นเพียงแค่คำกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย จากบุคคลเพียงคนเดียวนั้นเพียงพอแล้วหรือที่สื่อมวลชนจะนำเสนอข่าวให้คนทั้งประเทศได้รับรู้

ศาสนาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เป็นเรื่องของความเชื่อ ความศรัทธา ดังนั้นการนำเสนอข่าวในเรื่องที่เกี่ยวกับการดูหมิ่นดูแคลนศาสนานั้น แม้ว่ามันอาจจะมีความจริงส่วนหนึ่งตามการกล่าวอ้าง แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการพิสูจน์ ย่อมไม่มีทางรู้แน่ชัด และไม่สามารถให้ความเชื่อถือได้เพราะเรื่องบางเรื่องที่เกิดขึ้นอาจกลายเป็น เพียงเกมของกลุ่มคนที่ไม่หวังดีต่อประเทศไทยที่ต้องการหาโอกาสเผยแพร่แนว ความคิดสร้างความแตกแยก การนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนจึงเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ควรเสนอข้อเท็จ จริงบนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในสังคม ไม่ใช่เครื่องมือสร้างความวุ่นวายในสังคม

การเขียนข่าวราวกับด่วนสรุปว่าเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่ไปเสียแล้ว ทั้งที่ยังต้องผ่านกระบวนการอีกมากมายกว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน จึงไม่ใช่วิสัยของสื่อมวลชนที่มีจรรยาบรรณหรือเป็นวิธีการที่ผู้อยู่กับ ข้อมูลข่าวสารสมควรกระทำอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นด้านศาสนา ควรจะต้องใช้วิจารณญาณอย่างมากก่อนจะนำเสนอหรือการให้ความเชื่อถือข่าวสาร เหล่านั้น … ถ้าคนอ่านหวังพึ่งสื่อมวลชนไม่ได้แล้ว คงต้องใช้วิจารณญาณของตนเอง คิด วิเคราะห์ แยกแยะให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อถือข่าวสารนั้น หรือหากผู้อ่านใดมีข้อมูลอ้างอิงที่ลึกกว่าสื่อภาคภาษาอังกฤษที่ว่านี้แล้ว ช่วยให้ความกระจ่างน่าจะเป็นประโยชน์แก่สังคมมากกว่าเสียอีก

مكافحة الشغب في السجون في ناراثيوات

وقد أظهرت أحداث الشغب في السجون في إقليم ناراثيوات من خلال بعض وسائل الإعلام واعمال شغب قام بها مئات من السجناء الملايو الاستياء بسبب تصرفات الضباط — الذين هم للوقاية من المخدرات وحدة للبحث في السرير من السجناء.
عندما وسائل الإعلام الرئيسية للإبلاغ عن الحادث نتيجة لعدم الرضا عن العمل للتفتيش من قبل ضباط في البحث عن المخدرات ، وهناك العديد من وسائل الاعلام ذكرت هذه الحادثة في لهجة مختلفة..
وأفادت وسائل الإعلام باللغة الإنجليزية في تايلاند أنباء عن أعمال شغب سجين نقلا عن معلومات غير مؤكدة من ناشط مسلم الذي ذكر أن سبب أعمال الشغب اندلعت بعد مسؤولين من الحكومة التايلندية قد أهان الاسلام لسحق آل القرآن الخريف على الأرض. هذه التقارير يمكن أن يؤدي إلى شعور من سوء الفهم من المسؤولين الحكوميين. هذا هو فعل غير المسددة من التقارير أو diusul disaringkan الاختيار. لم يقترن المعلومات التي قدمتها الصور ومقاطع VDO ، أو أي وثائق أخرى للتحقق. في حين انها مجرد كلمات من شخص فقط. ولكن هل يكفي للنشر على الجمهور في البلاد.
الدين هو قضية حساسة. يترافق ذلك مع المعتقدات والعقائد للشخص. ولذلك ، والعمل على نشر الأخبار المتعلقة سخرية من الديانات الاخرى ، على الرغم من أنه قد يكون عناصر من الحقيقة ، كما ادعى ، ولكن إذا كان لديك لم يتم التحقق بعد ، لن تجلب أي مكان ولا يمكن الوثوق به. وذلك لأن بعض الأحداث قد يكون تكتيك لعب بعض مجموعة خبيثة من البلدان ، والذين يسعون إلى زرع بذور الشقاق محاكمة لشعب هذا البلد.
وبالتالي ، يتعين على وسائل الإعلام أن تكون بمثابة أداة أو قطعة لتسليط الضوء على المعلومات والتقارير الإخبارية ، والتي سوف تجلب تنمية المجتمع بدلا من أن يكون أداة لخلق الفوضى في المجتمع.
وفعل الكتابة أو الرسم قصص أي استنتاجات امرنا ، عندما تكون في الحقيقة لم تتأكد بعد ، يمكن اعتبار سلوك غير قانوني يكون مسؤولا عن وسائل الإعلام عنها ، لا سيما إذا كان يتعلق بالدين. ينبغي أن تدرس وسائل الإعلام قبل نشر المزيد من الأخبار. إذا كان القارئ لا يستطيع أن يعتمد بشكل كامل على وسائل الإعلام ، فإنها قد تحتاج إلى النظر إلى أنفسهم نقد وتحليل المعلومات التي تنشرها وسائل الإعلام قبل أن تلقي والاعتقاد في التقارير الإخبارية. إذا كان لديها معلومات بأن القراء الرجل أعمق من كل ما تردد في وسائل الإعلام باللغة الإنجليزية ، ومن المتوقع أن يأتي إلى الأمام ، وشرح للمجتمع